พ.ร.บ.รถยนต์ กับ ภาษีรถยนต์ แตกต่างกันอย่างไร?
ในแต่ละปีผู้ใช้รถยนต์ต้องทำอย่างต่อเนื่องทุกๆ ปี คงไม่มีใครไม่นึกถึง การต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ และ การต่อภาษีรถยนต์ ใช่ไหมล่ะคะ เพราะหากรถยนต์ของเรา ไม่มี พ.ร.บ.รถ และ ไม่มี ภาษีรถยนต์ ก็จะเข้าข่ายเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และมีโทษปรับตามกฎหมายได้ ทั้งนี้ใครหลายคนอาจยังสงสัยว่า พ.ร.บ.รถยนต์ กับ ภาษีรถยนต์ แตกต่างกันอย่างไร และมีความจำเป็นกับรถยนต์มากขนาดไหน โดยเฉพาะ “มือใหม่หัดขับ” ที่อาจจะยังไม่รู้ข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับกฎข้อบังคับในการใช้รถยนต์สักเท่าไร วันนี้ Srikrung Unity จะมาไขข้อสงสัย เกี่ยวกับความแตกต่างระหว่าง พ.ร.บ.รถยนต์ และ ภาษีรถยนต์ แล้วทำไมกฎหมายถึงบังคับให้รถยนต์ทุกคันต้องมี
พ.ร.บ.รถยนต์ คืออะไร
“พ.ร.บ.รถยนต์” คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งเป็นประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ เนื่องจากมีกฎหมายบังคับให้รถยนต์ทุกคันจำเป็นต้องทำประกันตัวนี้ ซึ่ง พ.ร.บ.รถยนต์ หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 นั้นคือกฎหมายที่กำหนดและบังคับให้รถทุกคันที่ได้จดทะเบียนไว้กับกรมการขนส่งทางบก จะต้องทำประกันภัยอันนี้ และการที่กฎหมายบังคับให้รถยนต์ทุกคันทำประกันตัวนี้เอาไว้ก็เพื่อที่จะเป็นหลักประกันและให้ความคุ้มครองกับคนทุกคนที่สัญจรไปมาอยู่บนถนน ทั้งผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร บุคคลภายนอก หรือคนเดินถนน หรือ คู่กรณี ที่ได้รับความเสียหายต่อชีวิตและร่างกาย ได้รับบาดเจ็บ ทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะ หรือ เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ไม่ว่าคนคนนั้นจะเป็นคนที่กระทำผิดหรือไม่ก็ตาม ซึ่งโดยปกติแล้วหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นและมีคนที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุนั้น กฎหมายก็จะให้ความคุ้มครองกับทั้งคู่กรณีและคนที่เอาประกัน ในรูปแบบของเงินชดเชย ค่ารักษาพยาบาล หรือ ค่าปลงศพ ตามที่กฎหมายกำหนด แก่ผู้ประสบภัย
ยิ่งกว่านั้นสาเหตุหลักๆ ที่รัฐออกกฎหมายบังคับให้รถทุกคันบนท้องถนนต้องทำ พ.ร.บ.รถยนต์ ก็เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ให้สามารถเข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที และเพื่อเป็นหลักประกันว่าสถานพยาบาลหรือโรงพยาบาลนั้นๆ จะได้รับค่ารักษาพยาบาลจากการที่รับผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์มารักษา ฉะนั้น พ.ร.บ.รถยนต์ คือ ประกันภัยภาคบังคับที่รถยนต์ทุกคันต้องทำก่อนที่จะมีการนำรถยนต์ไปตรวจสภาพและเสียภาษีในลำดับถัดไป
พ.ร.บ.รถยนต์ จะให้ความคุ้มครองเพียง 1 ปีเท่านั้น เมื่อ พ.ร.บ.รถยนต์หมดอายุ ต้องทำการต่อ พ.ร.บ. เป็นประจำทุกปี ไม่เช่นนั้นจะมีโทษปรับเป็นเงินไม่เกิน 10,000 บาท แถมยังไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้อีกด้วย
พ.ร.บ.รถยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง
สำหรับความคุ้มครองของ พ.ร.บ. รถยนต์ นั้น ผู้ประสบภัยทุกคนสามารถเบิกได้ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายผิดหรือฝ่ายถูกในอุบัติเหตุก็ตาม โดยมีรายละเอียดความคุ้มครอง ดังนี้
ตารางความคุ้มครอง พ.ร.บ.รถยนต์
1. ค่าเสียหายเบื้องต้น (ได้รับโดยยังไม่ต้องพิสูจน์ความผิด) |
|
1.1 ค่ารักษาพยาบาล จากการบาดเจ็บ (ตามจริง) |
ไม่เกิน 30,000 |
1.2 การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร |
35,000 |
2. ค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติม หรือ ค่าเสียหายส่วนเกิน (ได้รับเฉพาะฝ่ายถูก) |
|
2.1 ค่ารักษาพยาบาล จากการบาดเจ็บ |
ไม่เกิน 80,000 |
2.2 การเสียชีวิต หรือทุพพลภาพอย่างถาวรสิ้นเชิง |
500,000 |
2.3 กรณีทุพพลภาพถาวร |
300,000 |
2.4 กรณีทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง |
500,000 |
2.5 สูญเสียอวัยวะ - นิ้วขาด 1 ข้อขึ้นไป - สูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน - สูญเสียอวัยวะ 2 ส่วน |
250,000 500,000 |
2.6 เงินชดเชยรายวัน 200 บาท รวมกันไม่เกิน 20 วัน (กรณีพักฟื้นเป็นผู้ป่วยใน) |
สูงสุดไม่เกิน 4,000 |
ภาษีรถยนต์ คืออะไร
สำหรับ “ภาษีรถยนต์” คือ ค่าใช้จ่ายที่เจ้าของรถยนต์ทุกคันจะต้องชำระเป็นประจำทุกปีให้กับกรมขนส่งทางบก (หน่วยงานภาครัฐ) ซึ่งภาษีรถยนต์นี้จะเป็นการจ่ายเงินเพื่อนำไปดูแลรักษาระบบคมนาคมและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง หรือพูดง่ายๆ ก็คือทางภาครัฐจะนำเงินที่ได้จากภาษีรถยนต์ไปปรับปรุง พัฒนา หรือซ่อมแซมถนนหนทางและอุปกรณ์อื่นๆ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้แก่ผู้ใช้รถใช้ถนน ซึ่ง ภาษีรถยนต์ หรือที่ใครหลายคนเรียกกันติดปากว่า ต่อทะเบียนรถยนต์ เป็นสิ่งที่รถยนต์ทุกคันต้องทำเป็นประจำทุกปีตามที่กฎหมายกำหนด หากรถยนต์คันใด ไม่ได้ต่อภาษีรถยนต์หรือต่อภาษีรถยนต์ล่าช้า จะมีค่าปรับ 1% ต่อเดือน และหากขาดต่อภาษีรถยนต์ นานติดต่อกัน 3 ปี จะทำให้ทะเบียนรถยนต์ถูกระงับ และต้องเสียค่าปรับในการชำระภาษีรถยนต์ย้อนหลังอีกด้วย
พ.ร.บ.รถยนต์ ต่างจาก ภาษีรถยนต์ อย่างไร
จากข้อมูลด้านบน เราสามารถสรุปได้ว่า พ.ร.บ.รถยนต์ และ ภาษีรถยนต์ นั้นมีความแตกต่างกัน ดังนี้
“พ.รบ.รถยนต์” คือ การทำประกันภัยภาคบังคับ สำหรับคุ้มครองความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ประสบภัยจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
“ภาษีรถยนต์” คือ การต่อทะเบียนรถยนต์ประจำปี โดยเงินภาษีที่จ่ายไปก็จะนำไปพัฒนาระบบคมนาคมให้ดียิ่งขึ้น
แต่ก็มีหลายคนมักเข้าใจผิดว่าการต่อพ.ร.บ.และภาษีรถยนต์เป็นเรื่องเดียวกัน ก็อาจจะเป็นเพราะว่าการดำเนินการต่ออายุของทั้งสองสิ่งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการต่อพ.ร.บ และการต่อภาษีรถยนต์ จะต้องดำเนินการควบคู่กันไป หากรถยนต์คันใดไม่ได้ต่อพ.ร.บ. และภาษีรถยนต์ ก็ไม่สามารถต่ออายุได้เช่นกัน เพราะจะต้องใช้เอกสารพ.ร.บ.รถยนต์แนบไปกับการต่อภาษีรถยนต์นั่นเอง ซึ่งเมื่อต่อภาษีรถยนต์เรียบร้อยแล้ว ก็จะได้รับแผ่นป้ายสี่เหลี่ยมสำหรับมาติดกระจกหน้ารถ ที่เรียกกันว่า “ป้ายภาษี” หรือที่แต่เดิมนิยมเรียกกันว่า ป้ายวงกลม ไม่ใช่ป้าย พ.ร.บ.รถ อย่างที่หลายคนเข้าใจกัน เพราะความจริงแล้ว พ.ร.บ.รถยนต์ จะเป็นเอกสารขนาด A4 ที่แสดงรายละเอียดรถยนต์และกรมธรรม์ พ.ร.บ.รถยนต์อย่างชัดเจน
รถ ไม่ได้ ต่อ พ.ร.บ. และ ภาษีรถยนต์ จะมีผลอย่างไร
พ.ร.บ.รถยนต์ และ ภาษีรถยนต์ นั้นมีอายุเพียง 1 ปีเท่านั้น เมื่อครบกำหนดพ.ร.บ.รถยนต์ขาดหรือ ภาษีรถยนต์หมดอายุ จะต้องต่อ พ.ร.บ. และภาษีรถยนต์ แต่หากรถคันใดที่ไม่มีพ.ร.บ.รถยนต์ มีโทษปรับสูงสุด 10,000 บาท หากใครที่มัวแต่ชะล่าใจไม่ไปต่อภาษีรถยนต์นานเกิน 3 ปี ส่งผลให้รถยนต์ถูกระงับป้ายทะเบียน ต้องทำเรื่องขอจดทะเบียนใหม่ แถมผู้ประสบภัยจากรถจะไม่ได้รับความคุ้มครองหากรถเกิดอุบัติเหตุอีกด้วย
ต่อ พ.ร.บ. ภาษีรถยนต์ ล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน
ทั้งพ.ร.บ.รถยนต์ และภาษีรถยนต์ ต่างก็มีความสำคัญและมีความเกี่ยวข้องกันเป็นอย่างมาก รถยนต์ทุกคันจึงจำเป็นที่จะต้องต่อพ.ร.บ. และภาษีรถยนต์เป็นประจำทุกปี โดยสามารถได้ล่วงหน้าก่อนวันหมดอายุไม่เกิน 3 เดือน หรือประมาณ 90 วัน
เท่านี้ก็ได้ทราบกันไปแล้วว่า “พ.ร.บ.รถยนต์” แตกต่างจาก “ภาษีรถยนต์” อย่างไร และมีความสำคัญต่อรถยนต์ของเรามากขนาดไหน หากใครที่ พ.ร.บ.รถ ใกล้หมดอายุแล้ว สามารถ ต่อ พ.ร.บ.รถ ออนไลน์ได้แล้ววันนี้ที่ Srikrung Unity เริ่มต้นเพียง 514 บาทเท่านั้น ทำง่าย ๆ เพียง คลิกที่นี่
20 มี.ค. 2566 13:34 น. โดย ผู้ดูแล ระบบ