ประกันภัยรถยนต์ กับ พ.ร.บ.รถยนต์ แตกต่างกันอย่างไร?
คนมีรถต่างก็รู้กันดีว่านอกจากภาษีรถยนต์ที่ต้องจ่ายทุกปีแล้ว ยังมี พ.ร.บ.รถยนต์ที่จำเป็นต้องต่ออายุทุกปีด้วยเช่นกัน ซึ่งหลายๆ คนอาจจะคิดว่า พ.ร.บ. นั้นมีความคล้ายกับ ประกันรถยนต์ แล้วแบบนี้มันแตกต่างกันอย่างไรล่ะ?
วันนี้ Srikrung Unity จะมาอธิบายให้ฟังว่า พ.ร.บ. รถยนต์ เป็นแบบไหน คืออะไร แตกต่างจากประกันรถยนต์อย่างไร และมีประโยชน์ต่อเรายังไงในการขับขี่รถยนต์
ประกันรถยนต์ คืออะไร
ประกันภัยรถยนต์ หรือ บางท่านอาจเรียกว่า ประกันภัยภาคสมัครใจ เป็นการทำประกันภัยรถยนต์เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับรถยนต์ และผู้ประสบภัยจากการใช้รถของคุณ โดยที่คุณจะต้องชำระเงินเพื่อซื้อกรมประกันภัยรถยนต์ เพื่อให้ได้รับการคุ้มครองในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด เช่น อุบัติเหตุ ซึ่งอาจทำให้คุณต้องเสียค่าซ่อมรถ หรือเสียเงินเพิ่มเติมในกรณีที่ผู้อื่นได้รับความเสียหายหรือบาดเจ็บจากอุบัติเหตุที่คุณเกี่ยวข้อง
การซื้อประกันภัยรถยนต์จะช่วยปกป้องคุณจากความเสียหายและปัญหาทางการเงินที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยประกันภัยรถยนต์มีหลายประเภท เช่น ประกันชั้น 1 ประกันชั้น 2 และประกันชั้น 3 โดยมีความคุ้มครองที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับประเภทของกรมประกันภัยที่คุณเลือกซื้อ ในการเลือกซื้อประกันภัยรถยนต์คุณควรตระหนักถึงความต้องการและปริมาณการใช้งานของรถยนต์ของคุณ เพื่อทำให้คุณสามารถเลือกกรมประกันภัยที่เหมาะสมกับความต้องการและงบประมาณของคุณได้ดียิ่งขึ้น
พ.ร.บ.รถยนต์ คืออะไร
“พ.ร.บ.รถยนต์” คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งเป็นประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ เนื่องจากมีกฎหมายบังคับให้รถยนต์ทุกคันจำเป็นต้องทำประกันตัวนี้ ซึ่ง พ.ร.บ.รถยนต์ หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 นั้นคือกฎหมายที่กำหนดและบังคับให้รถทุกคันที่ได้จดทะเบียนไว้กับกรมการขนส่งทางบก จะต้องทำประกันภัยอันนี้ และการที่กฎหมายบังคับให้รถยนต์ทุกคันทำประกันตัวนี้เอาไว้ก็เพื่อที่จะเป็นหลักประกันและให้ความคุ้มครองกับคนทุกคนที่สัญจรไปมาอยู่บนถนน ทั้งผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร บุคคลภายนอก หรือคนเดินถนน หรือ คู่กรณี ที่ได้รับความเสียหายต่อชีวิตและร่างกาย ได้รับบาดเจ็บ ทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะ หรือ เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ไม่ว่าคนคนนั้นจะเป็นคนที่กระทำผิดหรือไม่ก็ตาม ซึ่งโดยปกติแล้วหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นและมีคนที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุนั้น กฎหมายก็จะให้ความคุ้มครองกับทั้งคู่กรณีและคนที่เอาประกัน ในรูปแบบของเงินชดเชย ค่ารักษาพยาบาล หรือ ค่าปลงศพ ตามที่กฎหมายกำหนด แก่ผู้ประสบภัย
ยิ่งกว่านั้นสาเหตุหลักๆ ที่รัฐออกกฎหมายบังคับให้รถทุกคันบนท้องถนนต้องทำ พ.ร.บ.รถยนต์ ก็เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ให้สามารถเข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที และเพื่อเป็นหลักประกันว่าสถานพยาบาลหรือโรงพยาบาลนั้นๆ จะได้รับค่ารักษาพยาบาลจากการที่รับผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์มารักษา ฉะนั้น พ.ร.บ.รถยนต์ คือ ประกันภัยภาคบังคับที่รถยนต์ทุกคันต้องทำก่อนที่จะมีการนำรถยนต์ไปตรวจสภาพและเสียภาษีในลำดับถัดไป
พ.ร.บ.รถยนต์ จะให้ความคุ้มครองเพียง 1 ปีเท่านั้น เมื่อ พ.ร.บ.รถยนต์หมดอายุ ต้องทำการต่อ พ.ร.บ. เป็นประจำทุกปี ไม่เช่นนั้นจะมีโทษปรับเป็นเงินไม่เกิน 10,000 บาท แถมยังไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้อีกด้วย
พ.ร.บ.รถยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง
สำหรับความคุ้มครองของ พ.ร.บ. รถยนต์ นั้น ผู้ประสบภัยทุกคนสามารถเบิกได้ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายผิดหรือฝ่ายถูกในอุบัติเหตุก็ตาม โดยมีรายละเอียดความคุ้มครอง ดังนี้
ตารางความคุ้มครอง พ.ร.บ.รถยนต์
1. ค่าเสียหายเบื้องต้น (ได้รับโดยยังไม่ต้องพิสูจน์ความผิด) |
|
1.1 ค่ารักษาพยาบาล จากการบาดเจ็บ (ตามจริง) |
ไม่เกิน 30,000 |
1.2 การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร |
35,000 |
2. ค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติม หรือ ค่าเสียหายส่วนเกิน (ได้รับเฉพาะฝ่ายถูก) |
|
2.1 ค่ารักษาพยาบาล จากการบาดเจ็บ |
ไม่เกิน 80,000 |
2.2 การเสียชีวิต หรือทุพพลภาพอย่างถาวรสิ้นเชิง |
500,000 |
2.3 กรณีทุพพลภาพถาวร |
300,000 |
2.4 กรณีทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง |
500,000 |
2.5 สูญเสียอวัยวะ - นิ้วขาด 1 ข้อขึ้นไป - สูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน - สูญเสียอวัยวะ 2 ส่วน |
250,000 500,000 |
2.6 เงินชดเชยรายวัน 200 บาท รวมกันไม่เกิน 20 วัน (กรณีพักฟื้นเป็นผู้ป่วยใน) |
สูงสุดไม่เกิน 4,000 |
ประกันภัยรถยนต์ ต่างจาก พ.ร.บ.รถยนต์ อย่างไร
จากข้อมูลด้านบน เราสามารถสรุปได้ว่า ประกันภัยรถยนต์ และ พ.ร.บ.รถยนต์ นั้นมีความแตกต่างกัน ดังนี้
“ประกันภัยรถยนต์” คือ การซื้อประกันภัยโดยสมัครใจเพื่อปกป้องคุณจากความเสียหายและปัญหาทางการเงินที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยประกันภัยรถยนต์มีหลายประเภท เช่น ประกันชั้น 1 ประกันชั้น 2 และประกันชั้น 3 โดยมีความคุ้มครองที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับประเภทของกรมประกันภัยที่คุณเลือกซื้อ
“พ.รบ.รถยนต์” คือ การทำประกันภัยภาคบังคับ สำหรับคุ้มครองความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ประสบภัยจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
ประกันภัยรถยนต์ กฎหมายไม่ได้บังคับให้ทำเหมือน พ.ร.บ.รถยนต์ แต่การทำประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ ไม่ว่าจะเป็นการทำประกันรถยนต์ชั้น 1 ชั้น 2 หรือชั้น 3 ควบคู่ไปกับประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับอย่าง พ.ร.บ.รถยนต์ จะทำให้เราสามารถขับขี่รถยนต์ได้อย่างมั่นใจและสบายใจกว่า เพราะไม่ว่าจะเกิดอุบัติเหตุในรูปแบบใดก็ยังมีประกันรถยนต์คุ้มครองทั้งบุคคลและทรัพย์สินของเราด้วย
อีกทั้ง “พรบ.รถยนต์ หรือ ประกันภัยภาคบังคับ” นั้นคุ้มครองเฉพาะความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อร่างกายและชีวิตของผู้ที่ประสบอุบัติเหตุเท่านั้น ในกรณีอื่นๆ อย่างเช่น ค่าซ่อมรถ ค่าทำสี ค่าชดเชยจากกรณีรถหาย ไฟไหม้ หรือน้ำท่วม หรือบริการช่วยเหลืออย่าง บริการลากรถหรือยกรถ ก็จะต้องพึ่งการทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ (ประกันรถยนต์ชั้น 1 ชั้น 2 หรือชั้น 3)โดยรายละเอียดความคุ้มครองหรือจำนวนเงินในการชดเชยต่างๆ ก็จะขึ้นอยู่กับแผนประกันที่เลือกทำ รวมถึงเงื่อนไขของบริษัทประกันนั้นๆ
ตารางเปรียบเทียบความคุ้มครองระหว่างประกันภัยรถยนต์ (ประกันภาคสมัครใจ) และ พ.ร.บ. (ประกันภาคบังบคับ)
|
ภาคสมัครใจ* |
พรบ.** |
ความเสียหายต่อรถยนต์ |
คุ้มครอง |
ไม่คุ้มครอง |
ผู้ขับขี่และผู้โดยสาร |
|
|
- เสียชีวิต หรือทุพพลภาพ |
คุ้มครองสูงสุด 10,000,000 บาท/ครั้ง |
คุ้มครองสูงสุด 500,000 บาท/ครั้ง |
- ค่ารักษาพยาบาล |
คุ้มครองสูงสุด 100,000 บาท/คน |
คุ้มครองสูงสุด 80,000 บาท/คน |
- ประกันตัวผู้ขับขี่ในคดีอาญา |
คุ้มครองสูงสุด 300,000 บาท |
ไม่คุ้มครอง |
ความรับผิดชอบต่อคนภายนอก |
|
|
- บุคคล |
คุ้มครองสูงสุด 500,000 บาท/คน |
คุ้มครองสูงสุด 500,000 บาท/คน |
- ทรัพย์สิน |
คุ้มครองสูงสุด 2,500,000 บาท/ครั้ง |
ไม่คุ้มครอง |
บริการช่วยเหลือฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง (โดยไม่มีค่าใช้จ่าย) |
คุ้มครอง |
ไม่คุ้มครอง |
* ขึ้นอยู่กับแผนประกันภัยที่เลือกซื้อ
** วงเงินความคุ้มครองผู้ขับขี่ขึ้นกับการพิสูจน์ฝ่ายถูกฝ่ายผิด
เท่านี้ก็ได้ทราบกันไปแล้วว่า “ประกันภัยรถยนต์” แตกต่างจาก “พ.ร.บ.รถยนต์” อย่างไร และมีความสำคัญต่อรถยนต์ของเรามากขนาดไหน หากใครที่ พ.ร.บ.รถยนต์ และประกันภัยรถยนต์ ใกล้หมดอายุแล้ว สามารถซื้อออนไลน์ได้แล้ววันนี้ที่ Srikrung Unity ทำง่าย ๆ เพียง คลิกที่นี่
20 มี.ค. 2566 13:54 น. โดย ผู้ดูแล ระบบ