ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจคืออะไร แล้วคุ้มครองอะไรบ้าง ?

การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ (Voluntary Motor Insurance)

           การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจหมายถึง การประกันภัยที่เกิดขึ้นโดยความสมัครใจของเจ้าของรถยนต์ ผู้ครอบครองรถยนต์ หรือผู้ขับขี่รถยนต์ โดยไม่ได้
เกิดจากการถูกบังคับโดยกฎหมายแต่อย่างใด เพื่อคุ้มครองความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวรถ หรือความรับผิดของผู้เอาประกันภัยที่มีต่อบุคคลภายนอก
ปัจจุบันการประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจที่เป็นมาตรฐาน แบ่งความคุ้มครองได้เป็น 5 ประเภท ได้แก่
     1. การประกันภัยรถยนต์ ประเภท 1
     2. การประกันภัยรถยนต์ ประเภท 2
     3. การประกันภัยรถยนต์ ประเภท 3
     4. การประกันภัยรถยนต์ ประเภท 4 หรือ กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก
     5. การประกันภัยรถยนต์ ประเภท 5 หรือ กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์คุ้มครองภัยเฉพาะ แบบประกัน 2 พลัส (2+) แบบประกัน 3 พลัส (3+)

ความคุ้มครองครอบคลุมอะไรบ้าง ?
ความคุ้มครองของประกันภาคสมัครใจแบ่งความคุ้มครองออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้

การประกันภัยรถยนต์ประเภท 1
      ให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุม และสูงที่สุดเมื่อเทียบกับประเภทอื่น ๆ กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 เป็นประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองมากกว่าการประกันภัย
รถยนต์ประเภทอื่น ๆ โดยมีความคุ้มครองหลักครบทั้ง 3 หมวดการคุ้มครอง ดังนี้
       1. หมวดการคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก
             1.1 ความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัย บริษัทประกันวินาศภัยจะรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของ
                   บุคคลภายนอก เฉพาะส่วนเกินวงเงินสูงสุดตามกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ตามความเสียหายที่แท้จริงที่ผู้เอาประกันภัยจะต้อง
                   รับผิดชอบตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอกไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยต่อคน (ต้องมีจำนวนเงินเอาประกันภัยไม่น้อยกว่า 500,000 บาทต่อคน) ที่ระบุ
                   ไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัย และไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยต่อครั้งที่ระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัย
                   ทั้งนี้ บุคคลภายนอกที่ได้รับความคุ้มครองจะไม่รวมถึงผู้ขับขี่ที่เป็นฝ่ายที่จะต้องรับผิดตามกฎหมาย ตลอดจนลูกจ้างในทางการที่จ้าง คู่สมรส บิดา มารดา
                   บุตรของผู้ขับขี่นั้น
           1.2 ความเสียหายต่อทรัพย์สิน บริษัทจะรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ
                 ตามกฎหมาย และความรับผิดของบริษัทจะมีไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัย
       2. หมวดการคุ้มครองรถยนต์สูญหายไฟไหม้
                 2.1 กรณีรถยนต์สูญหาย บริษัทประกันวินาศภัยจะรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เมื่อรถยนต์หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของรถยนต์ รวมทั้งอุปกรณ์
                       เครื่องตกแต่งหรือสิ่งที่ติดประจำอยู่กับตัวรถยนต์ตามมาตรฐานที่ติดตั้งมากับรถยนต์โดยโรงงานประกอบรถยนต์หรือศูนย์จำหน่ายรถยนต์ และให้รวม 
                       ถึงอุปกรณ์เครื่องตกแต่งที่ได้ทำเพิ่มขึ้นและผู้เอาประกันภัยได้แจ้งให้บริษัททราบด้วยแล้ว สูญหายไปอันเกิดจากการกระทำความผิดเฉพาะฐาน
                       ลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ปล้นทรัพย์ ยักยอกทรัพย์ หรือเกิดความเสียหายต่อรถยนต์อันเกิดจากการกระทำความผิด หรือการพยายามกระทำความผิด
                       เช่นว่านั้น แต่ไม่รวมการสูญหายจากการกระทำความผิดฐานฉ้อโกง
                2.2 กรณีรถยนต์ไฟไหม้ บริษัทประกันวินาศภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เมื่อรถยนต์เกิดความเสียหายจากไฟไหม้ ไม่ว่าจะเป็นการไหม้โดยตัวของมันเอง
                      หรือเป็นการไหม้ที่เป็นผลสืบเนื่องจากสาเหตุใด ๆ ก็ตาม
       3. หมวดการคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์
                บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างระยะเวลาประกันภัย ต่อรถยนต์รวมทั้งอุปกรณ์ เครื่องตกแต่ง หรือสิ่งที่ติดประจำอยู่กับ
           ตัวรถยนต์มาตรฐานที่ติดตั้งมากับรถยนต์โดยโรงงานประกอบรถยนต์หรือศูนย์จำหน่ายรถยนต์ และให้รวมถึงอุปกรณ์เครื่องตกแต่งที่ได้ทำเพิ่มขึ้น และผู้เอา
           ประกันภัยได้แจ้งให้บริษัททราบด้วยแล้วแต่ไม่รวมถึงความเสียหายที่เกิดจากไฟไหม้ เช่น กันชนหน้ารถแตกหักจากการขับรถชนต้นไม้ ประตูรถได้รับความ
           เสียหายจากการถูกเฉี่ยวชนกิ่งไม้หล่นใส่หลังคารถ เป็นต้น

การประกันภัยรถยนต์ประเภท 2
           เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองใกล้เคียงกับการประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 แตกต่างกันเพียงไม่มีความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับตัวรถยนต์ โดย
มีความคุ้มครองหลัก ดังนี้

     1. หมวดการคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก
               1.1 ความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัย บริษัทประกันวินาศภัยจะรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัย ของ
                     บุคคลภายนอก เฉพาะส่วนเกินวงเงินสูงสุดตาม  กรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ตามความเสียหายที่แท้จริงที่ผู้เอาประกันภัยจะต้อง
                     รับผิดชอบตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอกไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยต่อคน (ต้องมีจำนวนเงินเอาประกันภัยไม่น้อยกว่า 500,000 บาทต่อคน) ที่ระบุ
                     ไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัย และไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยต่อครั้งที่ระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัย
                     ทั้งนี้ บุคคลภายนอกที่ได้รับความคุ้มครองจะไม่รวมถึงผู้ขับขี่ที่เป็นฝ่ายที่จะต้องรับผิดตามกฎหมาย ตลอดจนลูกจ้างในทางการที่จ้าง คู่สมรส บิดา มารดา
                            บุตรของผู้ขับขี่นั้น

               1.2 ความเสียหายต่อทรัพย์สิน บริษัทจะรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ
                    ตามกฎหมาย และความรับผิดของบริษัทจะมีไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัย

     2. หมวดการคุ้มครองรถยนต์สูญหายไฟไหม้
               2.1 กรณีรถยนต์สูญหาย บริษัทประกันวินาศภัยจะรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เมื่อรถยนต์หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของรถยนต์ รวมทั้งอุปกรณ์ เครื่องตกแต่ง
                    หรือสิ่งที่ติดประจำอยู่กับตัวรถยนต์ตามมาตรฐานที่ติดตั้งมากับรถยนต์โดยโรงงานประกอบรถยนต์หรือศูนย์จำหน่ายรถยนต์ และให้รวมถึงอุปกรณ์เครื่อง
                    ตกแต่งที่ได้ทำเพิ่มขึ้น และผู้เอาประกันภัยได้แจ้งให้บริษัททราบด้วยแล้ว สูญหายไปอันเกิดจากการกระทำความผิดเฉพาะฐานลักทรัพย์ ชิงทรัพย์
                    ปล้นทรัพย์ ยักยอกทรัพย์หรือเกิดความเสียหายต่อรถยนต์อันเกิดจากการกระทำความผิด หรือการพยายามกระทำความผิดเช่นว่านั้น แต่ไม่รวมการ
                    สูญหายจากการกระทำความผิดฐานฉ้อโกง

               2.2 กรณีรถยนต์ไฟไหม้ บริษัทประกันวินาศภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เมื่อรถยนต์เกิดความเสียหายจากไฟไหม้ ไม่ว่าจะเป็นการไหม้โดยตัวของมันเอง หรือ
                     เป็นการไหม้ที่เป็นผลสืบเนื่องจากสาเหตุใด ๆ ก็ตาม

การประกันภัยรถยนต์ประเภท 3
        เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองน้อยกว่าการประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 และประเภท 2 โดยบริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะความรับผิดตาม
กฎหมายต่อบุคคลภายนอก ดังนี้

         1. ความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัย บริษัทประกันวินาศภัยจะรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัย ของบุคคล
             ภายนอกเฉพาะส่วนเกินวงเงินสูงสุดตามกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ตามความเสียหายที่แท้จริงที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตาม
             กฎหมายต่อบุคคลภายนอกไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยต่อคน (ต้องมีจำนวนเงินเอาประกันภัยไม่น้อยกว่า 500,000 บาทต่อคน) ที่ระบุไว้ในตารางกรมธรรม์
             ประกันภัย และไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยต่อครั้งที่ระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัย
            ทั้งนี้ บุคคลภายนอกที่ได้รับความคุ้มครองจะไม่รวมถึงผู้ขับขี่ที่เป็นฝ่ายที่จะต้องรับผิดตามกฎหมาย ตลอดจนลูกจ้างในทางการที่จ้าง คู่สมรส บิดา มารดา บุตร
                   ของผู้ขับขี่นั้น

        2. ความเสียหายต่อทรัพย์สิน บริษัทจะรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตาม
            กฎหมายและความรับผิดของบริษัทจะมีไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัย

การประกันภัยรถยนต์ประเภท 4
        การประกันภัยรถยนต์ประเภท 4 หรือ กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอกให้ความคุ้มครองต่อบุคคลภายนอกเท่านั้นโดยคุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก 100,000 บาทต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง

การประกันภัยรถยนต์ประเภท 5
        การประกันภัยรถยนต์ประเภท 5 หรือ การประกันภัยรถยนต์แบบคุ้มครองเฉพาะภัยเป็นแบบคุ้มครองภัยเฉพาะที่พัฒนาใช้งานขึ้นมาในภายหลัง แบ่งเป็น 2 แบบ ดังนี้

              1. แบบประกัน 2 พลัส (2+)
                  ให้ความคุ้มครองรับผิดชอบต่อความเสียหายแบบประกันภัย ชั้น 2 แต่เพิ่มความรับผิดต่อความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัยกรณีที่ชนกับยาน
พาหนะทางบกเท่านั้น และต้องมีคู่กรณี โดยให้ความคุ้มครอง ดังนี้

                             • คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ
                             • คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
                             • คุ้มครองการสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย
                             • คุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์คันเอาประกันภัย กรณีชนกับยานพาหนะทางบก

             2. แบบประกัน 3 พลัส (3+)
                ให้ความคุ้มครองรับผิดชอบต่อความเสียหายแบบประกันภัย ชั้น 3 แต่เพิ่มความรับผิดต่อความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัยกรณีที่ชนกับยาน
พาหนะทางบกเท่านั้น และต้องมีคู่กรณี โดยให้ความคุ้มครอง ดังนี้

                             • คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ
                             • คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
                             • คุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์คันเอาประกันภัย กรณีชนกับยานพาหนะทางบก

ความคุ้มครองเพิ่มเติม
              นอกเหนือจากความคุ้มครองหลักในการประกันภัยทั้ง 5 ประเภทข้างต้นแล้ว ผู้เอาประกันภัยยังสามารถเลือกซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติมตามเอกสารแนบท้าย
กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ ได้อีก 3 แบบ คือ

               1. เอกสารแนบท้ายความคุ้มครองเพิ่มเติม การประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (ร.ย.01) ให้ความคุ้มครองการเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง
                   ทุพพลภาพชั่วคราว ของผู้ขับขี่และผู้โดยสารซึ่งอยู่ใน หรือกำลังขับขี่ หรือกำลังขึ้นหรือกำลังลงจากรถยนต์คันเอาประกันภัย
               2. เอกสารแนบท้ายความคุ้มครองเพิ่มเติมค่ารักษาพยาบาล (ร.ย.02) ให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลของผู้ขับขี่ และผู้โดยสารซึ่งอยู่ในหรือกำลังขับขี่
                   หรือกำลังขึ้นหรือกำลังลงจากรถยนต์คันเอาประกันภัย
               3. เอกสารแนบท้ายความคุ้มครองเพิ่มเติม การประกันตัวผู้ขับขี่ (ร.ย.03) ให้ความคุ้มครองผู้เอาประกันภัย หรือบุคคลใดซึ่งขับขี่รถยนต์โดยความยินยอมของ
                   ผู้เอาประกันภัย กรณีที่เกิดอุบัติเหตุจนเป็นเหตุให้บุคคลดังกล่าวถูกควบคุมตัวในคดีอาญา ซึ่งบริษัทประกันภัยจะดำเนินการประกันตัวตั้งแต่ชั้นพนักงาน
                   สอบสวน พนักงานอัยการหรือศาลกำหนดจนกว่าคดีจะถึงที่สุด

 

อัตราเบี้ยประกันภัย ขึ้นอยู่กับปัจจัยอะไรบ้าง ?
        1.อัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ) แบ่งตามประเภทของรถ
        2.อัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ ขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้

                     • เบี้ยประกันภัยพื้นฐานตามประเภทรถ
                     • กลุ่มรถยนต์
                     • ลักษณะการใช้รถ
                     • อายุรถยนต์
                     • ขนาดรถยนต์
                     • จำนวนเงินเอาประกันภัย
                     • อายุผู้ขับขี่
                     • อุปกรณ์เพิ่มพิเศษ

ข้อมูลอื่นๆที่ควรทราบ

1. เวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดความคุ้มครองในการเอาประกันภัย
     1.1 กรณีที่แจ้งขอเอาประกันภัยล่วงหน้า ให้ถือว่าบริษัทรับประกันภัยและให้ความคุ้มครองตั้งแต่ เวลา 00.01 น.ของวัน ที่เริ่มต้นระยะเวลาประกันภัย
     1.2 กรณีที่แจ้งขอเอาประกันภัยในวันเดียวกันกับวันที่เริ่มต้นระยะเวลาเอาประกันภัย ให้ถือว่า เวลาที่เริ่มมีผลคุ้มครอง คือเวลาที่บริษัทตอบตกลงรับประกันภัย
     1.3 เวลาสิ้นสุดความคุ้มครองคือ เวลา 16.30 น.ของวันสิ้นสุดระยะเวลาประกันภัย

2. ความคุ้มครองพื้นฐานตามกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ดังกล่าวข้างต้นสามารถอธิบายรายละเอียดได้ดังต่อไปนี้
     2.1 ความคุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก (Third Party Bodily Injury: TPBI) หมายถึง ความรับผิดต่อความบาดเจ็บหรือ
           มรณะของบุคคลภายนอก และความรับผิดต่อความบาดเจ็บหรือมรณะของ ผู้โดยสารในรถคันเอาประกันภัย ทั้งนี้ จำนวนเงินจํากัดความรับผิดนี้ถือเป็นส่วนเกิน
           จากความคุ้มครองคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ

      *** บุคคลภายนอกที่ได้รับความคุ้มครองดังกล่าวข้างต้นนี้ไม่รวมถึง
                 1. ผู้ขับขี่รถยนต์คันเอาประกันภัยในขณะเกิดอุบัติเหตุ
                 2. คู่สมรส บิดา มารดา บุตร ลูกจ้างในทางการที่จ้างของผู้ขับขี่นั้น
     2.2 ความคุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก (Third Party Property Damage : TPPD) หมายถึง ความรับผิดต่อความเสียหายใดๆ อันเกิดแก่
           ทรัพยสินของบุคคลภายนอก

            *** ความเสียหายต่อทรัพย์สินดังต่อไปนี้ จะไม่ได้รับความคุ้มครอง
                  1. ทรัพย์สินที่ผู้เอาประกันภัย ผู้ขับขี่รถยนต์คันเอาประกันภัยในขณะเกิดอุบัติเหตุ คู่สมรส บิดามารดา บุตรของผู้เอาประกันภัย หรือผู้ขับขี่เป็นเจ้าของ
                      หรือเป็นผู้เก็บรักษา ควบคุม ครอบครอง
                  2. เครื่องชั่ง สะพานรถ สะพานรถไฟ ถนน ทางวิ่ง ทางเดิน สนาม หรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่อยู่ใต้สิ่งดังกล่าวอันเกิดจากการสั่นสะเทือน หรือจากน้ำหนักรถยนต์
                      หรือน้ำหนักบรรทุกของรถยนต์
                  3. สัมภาระหรือทรัพย์สินอื่นใดที่นำติดตัวขึ้นบนรถยนต์ หรือทรัพย์สินที่บรรทุกอยู่ในรถยนต์ หรือกำลังยกขึ้น หรือกำลังยกลงจากรถยนต์
                  4. ทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหายจากการรั่วไหลของสารเคมีหรือวัตถุอันตรายที่บรรทุกอยู่ในรถยนต์
       2.3 ความคุ้มครองความรับผิดต่อความเสียหายของตัวรถยนต์ (Own Damage: OD) หมายถึง ความคุ้มครองความเสียหายของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย รวม
             ถึงอุปกรณ์ เครื่องตกแต่งหรือสิ่งที่ติดประจำอยู่กับตัวรถ ยนต์ ตามมาตรฐานที่ติดตั้งมากับรถยนต์โดยโรงงานประกอบรถยนต์หรือศูนย์จำหน่ายรถยนต์

         ** ทั้งนี้ การรับประกันภัยตัวรถยนต์ไม่ควรรับประกันภัยในจำนวนเงินจํากัดความรับผิดต่ำกวา 80%ของราคารถยนต์ ในวันเริ่มการประกันภัย **
       2.4 ความคุ้มครองความรับผิดต่อความสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์ (Fire and Theft: F&T) หมายถึง ความคุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอา
             ประกันภัยที่ถูกไฟไหม้ และการสูญหายรวมถึงความเสียหาย อันเนื่องมาจากการสูญหาย รวมทั้งอุปกรณ์ เครื่องตกแต่ง หรือสิ่งที่ติดประจำอยู่กับตัวรถยนต์
             เกิดไฟไหม้หรือสูญหายไป

3. ความหมาย / รหัสรถยนต์ประเภทต่าง

3.1 รถที่ใช้ระบุในกรมธรรม์จะมี 3 หลัก
  หลักแรก                  หมายถึง   ชนิดรถ
  หลักสองและสาม      หมายถึง   ลักษณะการใช้รถงานรถยนต์

3.2) หลักแรก หมายถึง
  1  =  รถยนต์นั่ง                   5  =  รถพ่วง
  2  =  รถยนต์นั่งโดยสาร         6  =  รถจักรยานยนต์
  3  =  รถยนต์บรรทุก              7  =  รถยนต์แท๊กซี่
  4  =  รถยนต์ลากจูง              8  =  รถยนต์อื่นๆ

4. การสิ้นผลบังคับของกรมธรรม์ประกันภัย
     4.1 วันที่ เวลา ที่ระบุไว้ในตาราง
     4.2 มีการบอกเลิกกรมธรรม์
           4.2.1 บริษัทเป็นผู้บอกเลิก บริษัทประกันภัยบอกเลิกด้วยการส่งหนังสือบอกกล่าวล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงผู้เอาประกันภัย
           4.2.2 ผู้เอาประกันภัยบอกเลิก สามารถมีสิทธิได้รับเบี้ยประกันภัยคืน ตามอัตราการคืนเบี้ยประกันภัยที่ระบุไว้ข้างล่าง

อ้างอิง คำสั่งนายทะเบียนที่ 10/2563 เรื่อง ให้ใช้แบบ ข้อความกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์รวมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เอกสารประกอบ เอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัย และพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์. สมาคมประกันวินาศภัยไทย. คู่มือวิชาการประกันภัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.

 

09 มี.ค. 2566 12:52 น. โดย ผู้ดูแล ระบบ
คุยกับเรา